ระบบเศรษฐกิจ
1. การเกษตร
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมาคือ อาชีพรับจ้างและค้าขาย การทำเกษตรกรรม ได้แก่ การทำไร่ต่างๆ เช่น ไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด
2. การประมง
(ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะไม่มีการประมง)
3. การปศุศัตว์
- เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ ฯลฯ
4. การบริการ
มีร้านบริการทำผม เสริมสวย ในพื้นที่ มีอยู่ที่ หมู่ที่ 1,3,4และหมู่ที่ 6
มีรีสอร์ท ในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง
มีโรงสีข้าวขนาดเล็ก ในพื้นที่ มีอยู่ที่หมู่ที่ 1,3,4และ หมู่ที่ 5
5. การท่องเที่ยว
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช การจัดงานประเพณีต่างๆ
6. อุตสาหกรรม
- ลานมัน จำนวน 6 แห่ง
- ลานข้าวโพด จำนวน 5 แห่ง
(มีคนงานต่ำกว่า ๑๐ คน หรือมีทรัพย์สินถาวรที่เกิน ๑ ล้านบาท)
7.การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
มีกลุ่มอาชีพ จำนวน 3 กลุ่ม
๑. กลุ่มทอเสื่อกก
๒. กลุ่มพริกแกง
3. กลุ่มพวงหรีดดอกไม้จันทน์
8. แรงงาน
ประชากรของตำบลพันชนะผู้ที่ประกอบอาชีพรับจ้าง ส่วนใหญ่จะไปทำงานในโรงงานต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอด่านขุนทด เขตอุตสาหกรรมสุรนารีในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อีกส่วนใหญ่จะเข้าไปทำงานในกรุงเทพมหานคร และตามจังหวัดที่เป็นเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี สระบุรี เป็นต้น
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
1. การนับถือศาสนา
ประชาชนในตำบลพันชนะ เป็นผู้นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัด 8 แห่ง ที่พักสงฆ์ 1 แห่ง
1.วัดพันชนะ 2.วัดบ้านดอน
3.วัดหนองพลวง 4.วัดมาบกราด
5.วัดป่าพันชนะ 6.วัดโนนสง่า
7.วัดโป่งกระสัง 8.วัดวะระเวียง
9.ที่พักสงฆ์หนองมะค่า
2. ประเพณีและงานประจำปี
- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เดือน มกราคมทุกปี
- ประเพณีสักการะสมเด็จพระเจ้าตากสิน วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี
- ประเพณีวันสงกรานต์ เดือน เมษายนของทุกปี
- ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน
- ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม ตุลาคม พฤศจิกายน
3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสานใช้สำหรับในครัวเรือนและวิธีการทอเสื่อจากต้นกก
ภาษาถิ่น ส่วนมากร้อยละ ๙๐ % พูดภาษาอีสาน
4. สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำหน่ายบ้าง ได้แก่ เสื่อที่ทอจากต้นกก เครื่องจักรสานที่ทำจากไม้ไผ่
ทรัพยากรธรรมชาติ
1. น้ำ ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน
หมู่ที่ 1 บ้านพันชนะ คลองลำเชียงไกร,คลองโพธิ์ เหมืองโนนคราม,เหมืองหินปูน,เหมืองลาว,หนองโนนกระเบื้อง,หนองใหญ่,สระวัดพันชนะ,สระโรงเรียนบ้านพันชนะ และบึงพันชนะ
หมู่ที่ 2 บ้านดอน คลองลำเชียงไกร,สระน้ำโรงเรียนบ้านดอน ,สระวัดบ้านดอน
หมู่ที่ 3 บ้านหนองพลวง หนองตามมาตี,สระสี่เหลี่ยม,สระน้ำประปา,คลองหนองศาลเจ้าและคลองกะหาด
หมู่ที่ 4 บ้านมาบกราด บึงน้ำเค็ม,หนองน้ำเปรียง,สระที่สาธารณประโยชน์โคกหนองไม้ตาย
หมู่ที่ 5 บ้านมาบกระสัง สระวัดป่าพันชนะ
หมู่ที่ 6 บ้านโนนสง่า (ไม่มีแหล่งน้ำ)
หมู่ที่ 7 บ้านโป่งกระสัง คลองหนองศาลเจ้าและสระวัดโป่งกระสัง
หมู่ที่ 8 บ้านหนองมะค่า สระตะวันออกบ้าน ,สระกลางบ้านและสระวัด
หมู่ที่ 9 สระวัดวะระเวียง
หมู่ที่ 10 คลองหนองศาลเจ้า และสระหนองหมู
หมู่ที่ 11 บ้านโนนสง่าสามัคคี อ่างเก็บน้ำบ้านโนนสง่า,สระใหม่ ,คลองโป่งเป้ง ,คลองโกรกผักหวานและคลองโคกพรม
2. ป่าไม้
หมู่ที่ 1 บ้านพันชนะ ไม่มีป่าไม้ มีแต่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที 2 บ้านดอน ที่สาธารณประโยชน์ป่าช้าผีน้อย,ป่าช้าผีใหญ่ ต้นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที 3 บ้านหนองพลวง ป่าชุมชน ต้นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 4 บ้านมาบกราด ที่สาธารณประโยชน์โคกหนองไม้ตาย ต้นมเหสักข์-สยามินทร์ ,ยูคาลิปตัส และต้นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 5 บ้านมาบกระสัง ที่สาธารณประโยชน์ป่าช้าสนาม ต้นไม้ยืนต้นผลัดใบ
หมู่ที่ 6 บ้านโนนสง่า ไม่มีป่าไม้ มีแต่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 7 บ้านโป่งกระสังไม่มีป่าไม้ มีแต่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 8 บ้านหนองมะค่า ที่สาธารณประโยชน์ ต้นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 9 บ้านวะระเวียง ไม่มีป่าไม้ มีแต่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 10 บ้านพลกรังน้อย ไม่มีป่าไม้ มีแต่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 11 บ้านโนนสง่าสามัคคี ที่สาธารณประโยชน์ ต้นไม้ทั่วไป ผลัดใบ
3. ภูเขา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะไม่มีภูเขา
4. คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ ปัญหาคือ เนื่องจากว่าพื้นที่บางส่วนเป็นดินเค็ม น้ำใต้ดินก็เค็ม หรือไม่ก็เป็นน้ำกร่อย ไม่สามารถที่จะนำน้ำจากใต้ดินมาใช้ในการอุปโภค-บริโภคได้ได้ ต้องอาศัยน้ำดิบจากแหล่งอื่น และน้ำฝน น้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ
|