สภาพทางสังคม
1 การศึกษา
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรอายุ ๑๕ – ๖๐ ปีเต็ม ร้อยละ 100 อ่าน เขียนภาษาไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้ เด็กอายุ ๖ – ๑๔ ปี ร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการศึกษาภาคบังคับ ได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ หรือเทียบเท่า และที่ไม่ได้เรียนต่อมีงานทำ ร้อยละ 60 ด้านการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ปัญหาคือ ยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเมืองใหญ่ๆ ได้ การแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การสนับสนุนอาหารเสริมนม อาหารกลางวัน ในกับทางโรงเรียนในเขตพื้นที่ และร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ กับทางโรงเรียน
การศึกษา ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน พ.ศ.2564
สังกัด
|
สพฐ.
|
อบต.พันชนะ
|
๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะ
- จำนวนนักเรียน
๒. โรงเรียนสังกัด สพฐ. ในพื้นที่ อบต.พันชนะ
๒.๑ โรงเรียนบ้านดอน
- จำนวนนักเรียน
๒.๒ โรงเรียนบ้านพันชนะ
- จำนวนนักเรียน
๒.3 โรงเรียนบ้านหนองพลวง
- จำนวนนักเรียน
๒.4 โรงเรียนบ้านมาบกราด
- จำนวนนักเรียน
๒.5 โรงเรียนบ้านโป่งกระสัง
- จำนวนนักเรียน
๒.6 โรงเรียนบ้านโนนสง่า
- จำนวนนักเรียน
|
6 แห่ง
คน
คน
คน
คน
คน
คน
|
๑ แห่ง
คน
|
2 สาธารณสุข
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน เช่นกัน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน โรคเอดส์ โรคไข้เลือดออก มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ อีกมาก ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี การแก้ไขปัญหา คือ องค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะและหน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพันชนะ ได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้หมู่บ้านเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี สำหรับเด็กแรกเกิด - ๖ ปี ผู้ปกครองสามารถเลี้ยงดูตรงตามเกณฑ์ มีบางครัวเรือนไม่ได้กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การใช้ยาเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายยังไม่สม่ำเสมอ และประชากรส่วนมากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ ปัญหาเหล่านี้องค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไข โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พันชนะ จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพันชนะ ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๑ บ้านพันชนะ ไว้ให้บริการด้านการตรวจรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่หนักหนาสาหัสมากนัก เช่น การปฐมพยาบาลเบื้องต้น นอกจากนี้ยังบริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว การให้วัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ กับเด็ก ส่วนโรคหรือบาดแผลรุนแรงประชาชนจะไปรับการรักษายังโรงพยาบาลด่านขุนทด ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลด่านขุนทด หรือโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ภายในตัวจังหวัดนครราชสีมา
3 อาชญากรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะ ก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว วิธีการแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด คือการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็นที่สาธารณะ ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วมทางแยก รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุ่นแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้
4 ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะ พบว่าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะยังมีผู้ที่ติดยาเสพติดและผู้ค้ายาเสพติดอยู่ การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด
5. ระบบบริการพื้นฐาน
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะมีระบบบริการพื้นฐาน ดังนี้
5.1 การคมนาคมขนส่ง
ระบบคมนาคมขนส่งยังต้องมีการพัฒนาเส้นทางให้มีการสัญจรไปมาและสะดวกรวดเร็วขึ้น
หมู่ที่
|
ถนนลาดยางแอสฟัลส์
|
ถนนคอนกรีต
เสริมเหล็ก
|
ทางลำลอง
|
1
|
⁄
|
⁄
|
⁄
|
2
|
-
|
⁄
|
⁄
|
3
|
⁄
|
⁄
|
⁄
|
4
|
-
|
⁄
|
⁄
|
5
|
-
|
⁄
|
⁄
|
6
|
-
|
⁄
|
⁄
|
7
|
⁄
|
⁄
|
⁄
|
8
|
⁄
|
⁄
|
⁄
|
9
|
-
|
⁄
|
⁄
|
10
|
⁄
|
⁄
|
⁄
|
11
|
⁄
|
⁄
|
⁄
|
5.2 การไฟฟ้า
การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะมีจำกัด องค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะจึงไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่ การแก้ปัญหาคือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับหมู่บ้าน
5.3 การประปา
หมู่ที่
|
ประปาส่วนภูมิภาค
|
ประปาหมู่บ้าน
|
1
|
⁄
|
⁄
|
2
|
⁄
|
⁄
|
3
|
-
|
⁄
|
4
|
⁄
|
⁄
|
5
|
⁄
|
⁄
|
6
|
-
|
⁄
|
7
|
-
|
⁄
|
8
|
-
|
⁄
|
9
|
-
|
⁄
|
10
|
-
|
⁄
|
11
|
-
|
⁄
|
องค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะ มีกิจการประปาที่ถ่ายโอนให้หมู่บ้านดูแล 2 แห่งคือ หมู่ที่ 1 บ้านพันชนะ และหมู่ที่ 11 บ้านโนนสง่าสามัคคี
5.4 โทรศัพท์
ปัจจุบันทุกหมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
(ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะไม่มีไปรษณีย์ฯ)
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
1 การนับถือศาสนา
ประชาชนในตำบลพันชนะ เป็นผู้นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัด 8 แห่ง ที่พักสงฆ์ 1 แห่ง
- วัดพันชนะ ๒. วัดบ้านดอน
- วัดหนองพลวง ๔. วัดมาบกราด
- วัดป่าพันชนะ ๖. วัดโนนสง่า
- วัดโป่งกระสัง ๘. วัดวะระเวียง
๙. ที่พักสงฆ์หนองมะค่า
2 ประเพณีและงานประจำปี
- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เดือน มกราคมทุกปี
- ประเพณีสักการะสมเด็จพระเจ้าตากสิน วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี
- ประเพณีวันสงกรานต์ เดือน เมษายนของทุกปี
- ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน
- ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม ตุลาคม พฤศจิกายน
3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสานใช้สำหรับในครัวเรือนและวิธีการทอเสื่อจากต้นกก
ภาษาถิ่น ส่วนมากร้อยละ ๙๐ % พูดภาษาอีสาน
4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำหน่ายบ้าง ได้แก่ เสื่อที่ทอจากต้นกก เครื่องจักรสานที่ทำจากไม้ไผ่
ทรัพยากรธรรมชาติ
1 น้ำ ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน
หมู่ที่ 1 บ้านพันชนะ คลองลำเชียงไกร,คลองโพธิ์ เหมืองโนนคราม,เหมืองหินปูน,เหมืองลาว,หนองโนนกระเบื้อง,หนองใหญ่,สระวัดพันชนะ,สระโรงเรียนบ้านพันชนะ และบึงพันชนะ
หมู่ที่ 2 บ้านดอน คลองลำเชียงไกร,สระน้ำโรงเรียนบ้านดอน ,สระวัดบ้านดอน
หมู่ที่ 3 บ้านหนองพลวง หนองตามมาตี,สระสี่เหลี่ยม,สระน้ำประปา,คลองหนองศาลเจ้าและคลองกะหาด
หมู่ที่ 4 บ้านมาบกราด บึงน้ำเค็ม,หนองน้ำเปรียง,สระที่สาธารณประโยชน์โคกหนองไม้ตาย
หมู่ที่ 5 บ้านมาบกระสัง สระวัดป่าพันชนะ
หมู่ที่ 6 บ้านโนนสง่า (ไม่มีแหล่งน้ำ)
หมู่ที่ 7 บ้านโป่งกระสัง คลองหนองศาลเจ้าและสระวัดโป่งกระสัง
หมู่ที่ 8 บ้านหนองมะค่า สระตะวันออกบ้าน ,สระกลางบ้านและสระวัด
หมู่ที่ 9 สระวัดวะระเวียง
หมู่ที่ 10 คลองหนองศาลเจ้า และสระหนองหมู
หมู่ที่ 11 บ้านโนนสง่าสามัคคี อ่างเก็บน้ำบ้านโนนสง่า,สระใหม่ ,คลองโป่งเป้ง ,คลองโกรกผักหวานและคลองโคกพรม
2 ป่าไม้
หมู่ที่ 1 บ้านพันชนะ ไม่มีป่าไม้ มีแต่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที 2 บ้านดอน ที่สาธารณประโยชน์ป่าช้าผีน้อย,ป่าช้าผีใหญ่ ต้นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที 3 บ้านหนองพลวง ป่าชุมชน ต้นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 4 บ้านมาบกราด ที่สาธารณประโยชน์โคกหนองไม้ตาย ต้นมเหสักข์-สยามินทร์ ,ยูคาลิปตัส และต้นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 5 บ้านมาบกระสัง ที่สาธารณประโยชน์ป่าช้าสนาม ต้นไม้ยืนต้นผลัดใบ
หมู่ที่ 6 บ้านโนนสง่า ไม่มีป่าไม้ มีแต่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 7 บ้านโป่งกระสังไม่มีป่าไม้ มีแต่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 8 บ้านหนองมะค่า ที่สาธารณประโยชน์ ต้นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 9 บ้านวะระเวียง ไม่มีป่าไม้ มีแต่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 10 บ้านพลกรังน้อย ไม่มีป่าไม้ มีแต่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
หมู่ที่ 11 บ้านโนนสง่าสามัคคี ที่สาธารณประโยชน์ ต้นไม้ทั่วไป ผลัดใบ
3 ภูเขา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะไม่มีภูเขา
4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลพันชนะส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ ปัญหาคือ เนื่องจากว่าพื้นที่บางส่วนเป็นดินเค็ม น้ำใต้ดินก็เค็ม หรือไม่ก็เป็นน้ำกร่อย ไม่สามารถที่จะนำน้ำจากใต้ดินมาใช้ในการอุปโภค-บริโภคได้ได้ ต้องอาศัยน้ำดิบจากแหล่งอื่น และน้ำฝน น้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ
|